วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ


กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ

การเล่นกีฬามีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคืออะไร?
          - โดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน อีกทั้งเป็นการออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แล้วยังมีการพัฒนาขึ้นจนถึงมีการแข่งขัน

          - เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสามารถในการเล่นกีฬา มีร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีระเบียบวินัย และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

          - เพื่อการแข่งขันภายในและระหว่างประเทศสร้างลักษณะนิสัย ในการเคารพและปฏิบัติตามระเบียบการแข่งขัน เพื่อซึมซับและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม


จุดมุ่งหมายการเล่นกีฬาของเด็ก
          การเล่นกีฬาในเด็กเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพทางกายดีแล้ว สุขภาพจิตจะดีตามไปด้วย ช่วยให้รู้จักเคารพในกติกาของกีฬาแต่ละอย่าง รู้แพ้รู้ชนะ มีน้ำใจนักกีฬา และมักจะไม่หันเหไปมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

          สำหรับชนิดของกีฬาที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก เช่น ชกมวย ยกน้ำหนัก ซึ่งอาจมีผลต่อลักษณะโครงสร้าง ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่ก็ไม่ได้มีข้อห้ามออกมาอย่างชัดเจนว่าห้ามเด็กเล่น

          สำหรับการเล่นกีฬาในเด็กวัย 1-10 ปี เป็นการส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ใช้ความสัมพันธ์ของสายตา มือ เท้า เล่นเป็นหมู่คน คณะ และมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ได้แก่ วิ่ง ว่ายน้ำ กายบริหาร เกมส์ต่าง ๆ เป็นต้น

         สำหรับการเล่นกีฬาในเด็กวัย 11-16 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วว่องไวของร่างกายให้มีน้ำใจเป็นน้ำกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ มีทั้งการเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นทีม กีฬาที่แนะนำได้แก่ ว่ายน้ำ ฟุตบอล วอลเล่ห์บอล ตะกร้อ เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น

การเล่นกีฬาและกิจกรรมยามว่าง
       เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน จุดมุ่งหมายของนันทนาการ เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นกิจกรรมนันทนาการเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นพร้อมกับความสนใจในสุขภาพของคนในปัจจุบันคือ นันทนาการเพื่อสุขภาพ เช่น เต้นรำ ร้องเพลง กีฬาชนิดต่างๆ ออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค การฝึกสมาธิ โยคะ การเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาจหมายถึงการดำรงรักษาสุขภาพที่ดีอยู่แล้วมิให้ลดถอยลง ปรับปรุงสุขภาพที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้น ป้องกันโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนช่วยแก้ไขหรือฟื้นฟูสภาพร่างกายจากโรคบางอย่าง

       การเล่นกีฬาช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลที่สังคมต้องการได้อย่างแยบยลโดยเด็กและเยาวชนมีความพร้อมและอยากเล่นหรือร่วมกิจกรรมกีฬานั้นตามธรรมชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พวกเขาเหล่านั้นมีความต้องการและสนุนสนานกับการเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีการยอมรับ ตั้งใจกระทำกิจกรรมดังกล่าวและจะซึมซับเอาสิ่งดีมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการพัฒนาชีวิตในหลายๆคุณสมบัติอย่างที่สังคมต้องการ กีฬานั้นเป็นกิจกรรมที่ต้องการความสัมพันธ์กันระหว่างทักษะการเคลื่อนไหว สติปัญญา ความทนทาน และพละกำลังของร่างกายในการประกอบกิจกรรม

       กีฬามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านสุขภาพ และพลานามัย และด้านจิตใจ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กีฬาถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก จะอาศัยกระบวนการของกีฬา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการดำรงชีวิตที่มีคุณธรรม มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ข้อดีของการเล่นกีฬายามว่าง

– พัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา
– สร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะและต่างคณะ
– ส่งเสริมการมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้ดี
– มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนร่วม
– พัฒนาบุคลิกภาพ
– มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลอื่น และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
– เสริมสร้างการทำงานร่วมกันเป็นทีม


อ้างอิง
http://guru.sanook.com/19820/
https://www.google.co.th

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

สระแก้วบ้านฉัน



คำขวัญ ประจำจังหวัด

ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างาม น้ำตกสวย 
มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย - เขมร 

สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 245 กิโลเมตร
ในอดีตเคยเป็นชุมชนสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิ
และอาณาจักรทวาราวดี โดยจะเห็นได้จากกลุ่มปราสาทโบราณที่มีมากมายอยู่ทั่วจังหวัดและโบราณวัตถุที่หลงเหลือ
บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ความรุ่งเรืองของแผ่นดินในอดีต ให้แก่คนรุ่นหลัง

นอกจากแหล่งโบราณสถานที่น่าศึกษาทางประวัติศาสตร์ จังหวัดสระแก้วยังมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
เช่น อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติตาพระยา นอกจากนี้ยังมีแท่งดินประติมากรรมทางธรรมชาติอย่าง
"ละลุ" ที่มีรูปลักษณะแปลกตา สุดชายแดนอรัญประเทศสระแก้วเป็นประตูบานใหญ่ที่เปิดไปสู่ประเทศกัมพูชา เชื่อมการคมนาคมและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้เป็นเส้นทางเดียวกัน มีตลาดโรงเกลือที่เต็มไปด้วย
ของราคาถูกและสินค้ามือสองจากนานาประเทศเพื่อนบ้าน สระแก้วเป็นจังหวัดที่74 ของประเทศไทย
เดิมมีฐานะเป็นเมืองบริวารของปราจีนบุรี (เมืองประจิมในสมัยโบราณ)

และในปี พ.ศ.2476 เมื่อมีการยกเลิกระบบเทศาภิบาล ปราจีนบุรีได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัด
สระแก้วจึงกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาได้แยกตัวออกมาจากปราจีนบุรี
และได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536
จังหวัดสระแก้วมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานนับ 4,000 ปี ตั้งแต่ยุคหินใหม่-ยุคโลหะ โดยมีการค้นพบวัตถุโบราณที่บ้านโคกมะกอก
ตำบลเขาสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ ในยุคต่อมาก็มีการค้นพบโบราณวัตถุอีก เช่น ที่อำเภออรัญประเทศและอำเภอตาพระยา แสดงหลักฐานว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชนสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในยุคเจนละ- ทวารวดี มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองที่นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย

ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและจารึกรูปอักษรปัลลวะต่างๆ ปรากฏที่ปราสาทเขาน้อย เขารัง และช่องสระแจง เป็นต้น โดยเฉพาะจารึกรูปอักษรปัลลวะที่ปรากฏในบริเวณปราสาทเขาน้อยเขตอรัญประเทศซึ่งถือกันว่าเป็นหลักฐาน
บันทึกศักราชที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มจารึกรุ่นแรกที่พบในประเทศไทย สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช 1180 นอกจากนี้ยังค้นพบหลักฐานความเจริญของอารยธรรมระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-16 ในแถบนี้อย่างมากมาย
มีทั้งปราสาทอิฐ ปราสาทหิน เตาเผา เครื่องถ้วย และคูเมืองโบราณที่ยังเหลือร่องรอยปรากฏในปัจจุบัน
เช่น จารึกพบที่ปราสาทสด๊กก๊อกธมอีก 2 หลัก ซึ่งในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15

ปราสาทสด๊กก๊อกธมได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระศิวะ ดังข้อความในจารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ 1
ได้กล่าวถึงว่าในปีพุทธศักราช 1480 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 โปรดให้นำศิลาจารึกมาปักไว้ที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม
เพื่อประกาศห้ามเรียกข้าของเทวสถานแห่งนี้ไปใช้ในกิจการอื่น แต่ให้ข้าของเทวสถานได้บำรุงรักษาและบูชาพระศิวลึงค์หรือรูปเคารพ
ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ เทวสถานสด๊กก๊อกธมนี้ตลอดไป ส่วนจารึกอีกหลักหนึ่งก็ได้กล่าวสรรเสริญพระเจ้าอาทิตยวรมันที่ 2 ซึ่งได้ทรงบูรณะโบราณสถานแห่งนี้จนสำเร็จพร้อมจารึกที่เกี่ยวกับอารยธรรมและศาสนาเป็นต้น

จากจารึกและโบราณสถานที่พบนี้สามารถบ่งบอกให้เราทราบถึงระบบการปกครองของอาณาจักรขอมโบราณบนผืนแผ่นดินสระแก้วแห่งนี้ เปรียบเสมือนมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่มีคุณค่าเป็นคุณประโยชน์ต่อการศึกษายิ่ง
จังหวัดสระแก้วมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 7,195 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,496,961 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น7 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ
ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอตาพระยา อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด
กิ่งอำเภอโคกสูง และกิ่งอำเภอวังสมบูรณ์


อ้างอิง
http://www.tripsthailand.com/th/thailand_Major_Destinations_sakaeo.php